เคยเจอไหม? คุณคือผู้โชคดีได้รับ iPhone X (Phishing : การต้มตุ๋น)

คุณคือผู้โชคดีได้รับ iPhone X !!!!!

เชื่อว่าหลายๆ ท่านเคยเห็นเมลที่เป็นลักษณะของการแจ้งว่าเราได้รับรางวัลอะไรบางอย่าง ซึ่งหลายๆ ครั้งเมลลักษณะนี้เป็นเมลที่เรียกว่า Phishing Mail หรือเมล 18 มงกุฏเพื่อหลอกลวงต้มตุ๋นความลับของเรานั่นเอง สำหรับใครที่นึกภาพไม่ออกลองดูนี่เลยครับ

ภาพดังกล่าวเป็นภาพของ มิจฉาชีพที่หลอกลวงเจ้าของเมล์ฉบับนี้ว่าให้กรอกรายละเอียดชื่อเบอร์โทรศัพท์รหัสผู้ใช้และรหัสผ่านโดยระบุว่าจะได้มีสิทธิ์ลุ้นโชคเป็น iPhone 7 จำนวนสามรางวัล หากใครที่เข้าใจว่าเป็นอีเมล์จากทางธนาคารกสิกรไทยจริงและทำการส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านฟอร์มไปยังอีเมลที่ส่งมาก็เป็นผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงในครั้งนี้

ในบทความนี้จะแนะนำวิธีการตรวจสอบว่าอีเมลที่ได้รับเป็นเมลของมิจฉาชีพหรือไม่ ลองไปดูพร้อมกันเลยนะครับ

ดูชื่อและที่อยู่ผู้ส่งก่อนเสมอว่ามันใช่มั้ย??

ทุกๆเมลที่เราได้รับจะต้องมีชื่อและที่อยู่ผู้ส่งเสมอ โดยที่ส่วนมากแล้วจะมีการแสดงเป็นชื่อบุคคล และที่อยู่อีเมลแอดเดรส (อ้าว แล้วที่อยู่ที่บอกจะให้ไปดูที่ไหนล่ะไม่เห็นมีเลย) ดังตัวอย่างต่อไปนี้ครับ

ในผู้ให้บริการบางรายอาจมีการแสดงชื่อและที่อยู่อีเมลแยกจากกันดังภาพด้านบนจะเห็นว่าเมลฉบับนี้ใช้ชื่อผู้ส่งว่า Macroplant Support ส่วนที่อยู่ใช้เป็น mailer@fastspring.com

เราควรตรวจสอบชื่อและที่อยู่อีเมลของผู้ส่องก่อนทุกครั้งว่าเป็นคนที่เรารู้จักหรือไม่ มาจากองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือหรือไม่

อ้าวแล้วทำไมเมลที่บอกให้เรากรอกข้อมูลจึงไม่มีชื่อแสดงล่ะ???!!

คำถามข้อนี้มีคำอธิบาย 2 ข้อนั่นก็คือ

  1. เทคนิคที่ 18 มงกุฏใช้ในการตบตาเราครับ ที่เห็นจากภาพ admin@kasikorn.com นั้นไม่ใช่ที่อยู่ครับ แต่เป็นชื่อปลอมที่ถูกตั้งเอาไว้ครับ ถ้าเช็คกับทางกสิกรจะรู้ว่าเว็บของธนาคารกสิกรไทยคือ www.kasikornbank.com 
  2. ผู้ให้บริการอีเมลเจ้านี้ (outlook.com) ไม่ได้มีการแสดงผลที่อยู่แยกกับชื่อผู้ส่งนั่นเองครับ ซึ่งในกรณีนี้ผู้ใช้จำเป็นต้องนำเมาส์ไปวางไว้ที่ชื่อ หรือแตะที่ชื่อผู้ส่งเพื่อให้ระบบแสดงข้อมูลที่อยู่ของผู้ส่งนั่นเอง 
tap view details to view more details
บางครั้งต้องกดปุ่มเพื่อดูรายละเอียดผู้ส่ง
เมื่อแตะปุ่มแล้วก็จะมีรายละเอียดให้ดูมากขึ้น

ดังนั้นในเรื่องของผู้ส่ง ต้องตรวจสอบทั้งอีเมลและชื่อให้ดีๆ มิฉะนั้นอาจตกเป็นเหยื่อของ 18 มงกุฏได้นะครับ ตัวอย่างในสังคมมีเยอะแยะครับลองดูที่นี่ จากบอร์ด Pantip 

Pantip: เตือนอีเมลปลอมของ paypal ระวังก่อนทำธุรกรรมด้วยครับ

มองหาเครื่องหมายล็อค (รูปกุญแจ)

รูปกุญแจหรือเครื่องหมายล็อค เป็นสัญลักษณ์ของการเข้ารหัสข้อมูล หมายถึงข้อมูลที่มีการรับส่งในเว็บไซต์นั้นจะถูกเข้ารหัสไม่ให้อ่านได้ง่ายๆ นั่นเอง เวลาเปิดเว็บเราอาจจะเจอหน้าตาแบบนี้

เว็บนี้แสดงสถานะของเว็บที่อาจมีความเสี่ยงถ้าเข้าใช้งาน

ที่บริเวณหน้าชื่อเว็บจะแสดงรูปแม่กุญแจและมีเครื่องหมายขีดฆ่าแสดงว่า Certificate หมดอายุ มีความไม่น่าเชื่อถือ (certificate = ใบรับรอง ในที่นี้หมายถึงใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ อ้างอิงข้อมูลจาก ssl.in.th อยากรู้อ่านเพิ่มเติม คลิก!!!>>>>>) ถ้าเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงก็สามารถเข้าใช้งานได้ แต่ถ้าเจอเว็บไหนที่ไม่มีเครื่องหมาย ไม่ควรใส่ข้อมูลสำคัญโดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับการเงินโดยเด็ดขาด

บทสรุป

เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะการทำธุรกรรมทางการเงินควรตรวจสอบข้อมูลของผู้ที่เราติดต่อด้วยให้ดีทุกครั้งว่าถูกต้องหรือไม่ และสังเกตเครื่องหมายล็อคก่อนทุกครั้ง ด้วยความปรารถนาดี

ที่มา – ฝ่ายประชาสัมพันธ์ธนาคารกสิกรไทย

บทความโดย ธันว์ ชัยบริพันธ์

Accent VS Pronunciation
วิกฤตภาษาไทย : วิบัดพาสาชาด