100 ปีธงไตรรงค์

วันนี้ (28 กันยายน 2560) เป็นวันครบรอบ 100 ปีของธงประจำชาติของประเทศไทย

ข้อมูลทั่วไปของธงชาติไทย

ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และสีน้ำเงินขาบ ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย (ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่าสยาม) เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2460เพื่อแก้ไขปัญหาการชักธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4) กลับด้าน และเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร

การเปลี่ยนแปลงของธงชาติไทย

ธงแดงเกลี้ยง สำหรับใช้เป็นที่หมายของเรือสยามโดยทั่วไป
(ยังไม่ใช่ธงชาติสยาม)
นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

"ธงช้างเผือก" ธงชาติสยามในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

"ธงเกตุ" สำหรับชักที่หัวเรือหลวง
(ต่อมาใช้เป็นธงฉานของกองทัพเรือไทย)

 
"ธงเกตุ" ซึ่งแก้ไขแบบใหม่
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ร.ศ. 110
(
พ.ศ. 2434)

ธงค้าขาย พ.ศ. 2459

 

 

ธงราชการ พ.ศ. 2459
 
ธงไตรรงค์ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา

ที่มา Wikipedia : ธงชาติไทย[TheChamp-FB-Comments title="Comments"]

ข้อมูล G-Suite for Education สำหรับผู้ปกครองนักเรียนระดับปฐมวัย
มาดูหนูๆ ชั้นปฐมวัยดำนากัน!