คุณเริ่มไม่ชอบคณิตศาสตร์ตอนไหน!

Photo by Porapak Apichodilok from Pexels

“ไม่ชอบเรียนเลยวิชาคณิตศาสตร์เลย”  นักเรียนทราบหรือไม่ว่านักเรียนไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์ตั้งแต่เมื่อไหร่ ซึ่งถ้าถามไปนักเรียนส่วนใหญ่ก็จะตอบว่า “ไม่รู้นะคือไม่ชอบคิด โจทย์มันยากเกิน  เรียนแล้วไม่รู้จะเอาไปใช้อะไรได้ ”   ซึ่งผู้เขียนก็เป็นครูสอนในวิชาคณิตศาสตร์มาประมาณ 10 ปี ได้สอบถามนักเรียนในระดับชั้นที่สอนคือระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 จึงพอทราบได้ว่านักเรียนที่ไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์ ถ้าเป็นเรื่องการบวก การลบ การคูณและการหารจำนวนเต็มบวกทั้งไปทำได้ทั้งนั้นครับ แต่ถ้ามีเศษส่วน ทศนิยม จำนวนเต็มลบ เข้ามาด้วยละก็ ผู้เขียนขอบอกเลยว่านักเรียนที่บอกว่าไม่ชอบคณิตศาสตร์ทำไม่ได้แน่นอน

แล้วเรื่องที่ทำให้นักเรียนไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์ คือเรื่องอะไรหล่ะ! ก็เรื่องเศษส่วนที่เริ่มเรียนตอนประถมศึกษาปีที่ 4 ถ้าเศษส่วนตัวส่วนเท่ากันก็ดีหน่อย ถ้าตัวส่วนไม่เท่ากันมาละก็ ค.ร.น. มาอีกก็งงกันแน่นอนครับ ผู้เขียนว่าเรามาหาทางแก้ไขกันดีกว่าครับ เริ่มที่ มารูจักความหมายของคำว่าเศษส่วนกันก่อน เศษส่วนคือความสัมพันธ์ตามสัดส่วนระหว่างชิ้นส่วนของวัตถุหนึ่งเมื่อเทียบกับวัตถุทั้งหมด เศษส่วนประกอบด้วยตัวเศษ (numerator) หมายถึงจำนวนชิ้นส่วนของวัตถุที่มี และตัวส่วน (denominator) หมายถึงจำนวนชิ้นส่วนทั้งหมดของวัตถุนั้น 

ตัวอย่าง เช่นเค้กด้านบนนี้อ่านว่า เศษสามส่วนสี่ หรือ สามในสี่ หมายความว่า วัตถุสามชิ้นส่วนจากวัตถุทั้งหมดที่แบ่งออกเป็นสี่ส่วนเท่าๆ กัน นอกจากนั้น การแบ่งวัตถุสิ่งหนึ่งออกเป็นศูนย์ส่วนเท่า ๆ กันนั้นเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น 0 จึงไม่สามารถเป็นตัวส่วนของเศษส่วนได้

การที่จะสอนให้นักเรียนเข้าใจเรื่องเศษส่วนนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอนเป็นสิ่งสำคัญ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในห้องเรียน มีการให้รางวัลสำหรับนักเรียนที่ทำได้ ให้กำลังใจสำหรับนักเรียนที่ยังทำไม่ได้และให้รางวัลเมื่อนักเรียนเหล่านั้นมีพัฒนาการดีขึ้น และการที่จะให้นักเรียนทำโจทย์ต่างๆในเรื่องเศษส่วนได้นั้น ควรให้นักเรียนได้ฝึกทำแบบฝึกหัดบ่อยครั้ง และหลากหลาย โดยย้ำกับนักเรียนว่าวิชาคณิตศาสตร์ไม่ใช่วิชาที่จะท่องจำเพียงอย่างเดียวแล้วจะทำได้ แต่วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาทักษะ ที่ต้องใช้การฝึกฝน ตัวอย่างเช่น นักเรียนคงรู้จักนักแบดมินตันหญิงของไทยที่ชื่อว่า

น้องเมย์”  รัชนก อินทนนท์ ซึ่งได้ก้าวถึงมือวางอันดับหนึ่งของโลกประเภทหญิงเดี่ยวมาแล้ว

น้องเมย์ ได้กล่าวไว้ว่า “กีฬาประเภทนี้ดูเหมือนเป็นอะไรที่ง่าย แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลยนะคะ อย่างตอนแรกๆ ที่หนูเริ่มหัด พี่เขาก็โยนลูกมาให้หนูก็ตีไป เขาตีกลับมาแล้วลูกมาเร็วก็โดนหัวไปหลายครั้งเลย (หัวเราะ )ต้องพยายามใส่ใจให้มากที่สุดในทุกๆ รายละเอียด โดยเฉพาะในระดับพื้นฐานซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก อย่างที่นี่เขาจะสอนเริ่มตั้งแต่การตั้งท่า ตีอย่างไรให้ถูกวิธี คือท่าและการตีจะสวยมากๆ คนจะบอกเสมอว่าเด็กทีมนี้ตั้งท่าสวยตีสวยซึ่งทั้งหมดมาจากการฝึกทั้งสิ้น นอกจากนี้จะมีฝึกการวิ่งเข้าหน้า การวิ่งถอยหลัง โค้ชจะพยายามเน้นในจุดตรงนั้นเพื่อให้เด็กซึมซับและเคยชิน ทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ และถ้าเด็กดีขึ้นก็จะให้ไปตีเกมเพื่อดูการวิ่งเข้าหน้าถอยหลัง เด็กคนไหนยังไม่ดีตรงไหนก็จะให้มาพัฒนาตรงนั้น แล้วหากดีขึ้นก็ขยับขึ้นไปอีกรุ่นหนึ่ง ไปตีเกมกับคนที่ฝีมือสูสีกันได้ ทำให้เด็กได้คิด สนุก และใส่ใจกับตรงนั้นมากขึ้น ส่วนการเดินทางสู่วิถีมืออาชีพต้องอยู่ที่ใจของเราเอง ใจของนักกีฬา ระเบียบวินัยถือเป็นเรื่องสำคัญ บางทีต้องฝืนใจก็มี อย่างตอนเด็กๆ ใจหนูก็อยากไปเที่ยวเล่นกับเพื่อน แต่มันก็ไม่ได้ เพราะเราต้องมีหน้าที่เรียน เรียนเสร็จต้องรีบกลับมาซ้อม  เพื่อนชวนไปเที่ยวเล่นกินข้าวกันหลังเลิกเรียนเราก็ไปไม่ได้ ไม่ใช่แค่ไม่กล้าไปนะคะ เรียกว่าไม่กล้าแม้แต่จะขอเลยมากกว่า ก็ได้แต่ขอโทษเพื่อนไปว่าไม่ได้จริงๆ ถ้ากินที่โรงเรียนพอได้ แต่หากต้องออกไปนอกสถานที่นี่พูดเลยว่าไม่กล้า บอกเพื่อนไปตรงๆ เพื่อนมัธยมต้นคือเพื่อนที่ทำให้หนูได้เข้าใจคำว่าเพื่อนในโรงเรียนที่สุด มีเวลาอยู่กับเพื่อนค่อนข้างมาก เพราะยังไม่ได้ตีเป็นอาชีพนัก แต่ช่วง ม.ปลาย หนูเริ่มเข้าสู่ระบบอาชีพแล้ว ทำให้ไม่ค่อยได้ไปโรงเรียน ไม่ค่อยได้สุงสิงกับเพื่อ”

จากที่ได้กล่าวมาก็พอจะสรุปได้ว่าถ้าอยากให้นักเรียนที่ไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์น้อยลงครูควรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีสื่อการสอนการสอนที่ดีและต้องใช้ให้เป็นและสนับสนุนให้นักเรียนได้ฝึกทำแบบฝึกหัดให้บ่อยครั้งตามศักยภาพของนักเรียนและนักเรียนที่จะจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่อยากจะได้คะแนนสอบต่างๆดีความเริ่มฝึกทำโจทย์ที่เป็นข้อสอบเช่นอยากได้คะแนน O-NET มากๆก็ต้องลองฝึกทำแบบฝึกหัดเอาแค่วันละข้อก็พอถ้าเริ่มทำตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 คิดดูครับ 3 ปีจะได้โจทย์ทั้งหมด 1,095 ข้อแล้วทำไมถึงจะทำไม่ได้หล่ะครับซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าไม่เกินความสามารถของนักเรียนทุกคน

เรียบเรียงโดย

นายศักดิ์สิทธ์   สุปัน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ที่มา

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99

http://www.manager.co.th/Marsmag/viewnews.aspx?NewsID=9590000039187

ครูจะสร้างแรงจูงใจและความสำเร็จ ให้เกิดขึ้นแก่เด็กได้อย่างไร?
เขียนโค้ดใครว่ายาก (SCRATCH)